เมนู

ละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี
ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา. เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ขีณาสพละ
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องผูกพัน ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
คาถาประพันธ์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
เธอจงดูรถอันไม่มีโทษ มีหลังคาขาว มีเพลา
เดียว ไม่มีทุกข์ แล่นไปถึงที่หมาย ตัดกระแส
ตัณหาขาด ไม่มีกิเลสเครื่องผูกพัน ดังนี้.

กระผมย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งคาถาประพันธ์นี้ ที่พระผู้มีพระ-
พระภาคเจ้าตรัสไว้โดยย่อได้โดยพิสดารอย่างนี้.
กา. ดูก่อนคฤหบดี การที่ปัญญาจักษุของท่านหยั่งทราบในพระ-
พุทธพจน์ที่ลึกซึ้งนี้ ชื่อว่าเป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว.
จบ ปฐมกามภูสูตรที่ 5

อรรถกถาปฐมกามภูสูตรที่ 5



พึงทราบวินิจฉัยในปฐมกามภูสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้.
บทว่า เนลงฺโค คือไม่มีโทษ. บทว่า เสตปจฺฉาโท คือมี
หลังคาข่าว. บทว่า อนีฆํ คือไม่มีทุกข์. บทว่า มุหุตฺตํ ตุณฺหี หุตฺวา
ความว่า จิตตคฤหบดี เมื่อยังพระไตรปิฎกให้หวั่นไหวเพื่อเพ่งเนื้อความแห่ง
บทว่า เนลงฺโค นั้น เหมือนให้เขย่าต่างหูที่หู จึงนิ่งอยู่ครู่หนึ่งเพื่อพิจารณา
ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งบทนี้. บทว่า วิมุตฺติยา คือ อรหัตตผลวิมุตติ.

ก็อุบาสก เมื่อกล่าวปัญหานี้ ได้ทำสิ่งที่ทำได้ยาก. ส่วนพระสัมมาสัม-
พุทธเจ้า ตรัสด้วยสิ่งที่พระองค์ทรงเห็นแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายไม่เห็นภิกษุนั้น ขาว บอบบาง จมูกโด่ง มาหรือ แต่จิตต-
คฤหบดีนี้ กล่าวแล้วว่า นั้นเป็นชื่อของพระอรหันต์ โดยให้ถือเอานัย.
จบ อรรถกถาปฐมกามภูสูตร

6. ทุติยกามภูสูตร



ว่าด้วยสังขาร 3



[560] สมัยหนึ่ง ท่านพระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่า
มัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาท่านพระกามภูถึงที่อยู่
ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระกามภูว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สังขารมีเท่าไรหนอแล ท่านพระกามภูตอบว่า ดูก่อน
คฤหบดี สังขารมี 3 คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร.
[561] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ชื่นชม
อนุโมทนาภาษิตของท่านพระกามภู แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ ก็กายสังขารเป็นไฉน วจีสังขารเป็นไฉน จิตตสังขารเป็นไฉน.
กา. ดูก่อนคฤหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกแลชื่อว่า
กายสังขาร วิตกวิจารชื่อว่า วจีสังขาร สัญญาและเวทนาชื่อว่า จิตตสังขาร.
[562] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว
ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เพราะเหตุไร ลมหายใจเข้า
และลมหายใจออกจึงชื่อว่ากายสังขาร วิตกวิจารจึงชื่อว่าวจีสังขาร สัญญา
และเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร.